ยินดีต้อนรับเข้าสู่องค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์ อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน

แจ้งเรื่องร้องเรียนสายผู้บริหาร

ภารกิจผู้บริหาร

ปลัด





ปปช




ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์

คำพิพากษาของศาลปกครอง

ปราบปรามทุจริต

facebook



ศูนย์ดำรงธรมม









สถิติการเข้าชม เริ่มวันที่ 5/03/2563
วันนี้
10
เมื่อวานนี้
123
เดือนนี้
1,727
เดือนที่แล้ว
2,612
ปีนี้
20,398
ปีที่แล้ว
17,472
ทั้งหมด
58,623
ไอพี ของคุณ
35.175.191.46

1
อบต.พงษ์ ชวนงดเหล้าเข้าพรรษา ส่งเสริมสุขภาพ ต้านโรค,องค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์,phonglocal.go.th

อย่างที่ทราบกันดีว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลต่อตับ แต่รู้ไหมว่า นอกจากตับจะทำหน้าที่ทำลายแอลกอฮอล์ที่ร่างกายรับเข้าไป ยังทำหน้าที่ทำลายฮอร์โมนเอสโตรเจนส่วนเกินอีกด้วย ดังนั้นถ้าดื่มบ่อย อาจทำให้ตับสูญเสียประสิทธิภาพในการควบคุมฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งหากมีมากเกินไป จะสร้างความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมอีกด้วย

หาตัวช่วยเลิกเหล้า(phone)โทร 1413 ศูนย์ปรึกษาปัญหาสุรา

09 สิงหาคม 2566

หยุดยั้ง ป้องกัน รู้ทัน ไข้เลือดออก,องค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์,phonglocal.go.th

ไข้เลือดออก คือ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเด็งกีซึ่งเป็นไวรัสชนิดหนึ่ง มียุงลายเป็นพาหะนำโรค กล่าวคือ ยุงลายจะกัดคนที่เป็นโรคไข้เลือดออกก่อนแล้วจึงไปกัดคนที่อยู่ใกล้เคียงก็จะเป็นการแพร่เชื้อให้คนอื่นๆ ต่อไป

การติดต่อของโรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออก มักติดต่อจากคนไปสู่คน ซึ่งมียุงลายเป็นตัวพาหะที่สำคัญ (Aedes aegypt) โดยยุงตัวเมียจะกัดและดูดเลือดของผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสเดงกี จากนั้นเชื้อจะเข้าไปฟักตัวและเพิ่มจำนวนในตัวยุงลาย ทำให้มีเชื้อไวรัสอยู่ในตัวของยุงตลอดระยะเวลาของมันประมาณ 1 – 2 เดือน แล้วถ่ายทอดเชื้อไปสู่คนที่ถูกกัดได้ ยุงลายเป็นยุงที่อาศัยอยู่ในบริเวณบ้าน มักออกกัดเวลากลางวัน มีแหล่งเพาะพันธุ์ คือ น้ำนิ่งที่ขังอยู่ในภาชนะเก็บน้ำต่างๆ อาทิ โอ่ง แจกันดอกไม้ ถ้วยรองขาตู้ จาน ชาม กระป๋อง หม้อ ยางรถยนต์ หรือกระถาง เป็นต้น

โรคไข้เลือดออก พบโดยมากในฤดูฝน เนื่องจากในฤดูนี้เด็กๆ มักจะอยู่บ้านมากกว่าฤดูอื่นๆ อีกทั้งยุงลายยังมีการแพร่พันธุ์มากในฤดูฝน ซึ่งในเมืองใหญ่ๆ อย่าง กรุงเทพฯ อาจพบโรคไข้เลือดออกนี้ได้ตลอดทั้งปี

อาการของโรคไข้เลือดออก แบ่งเป็น 3 ระยะได้แก่

ระยะที่ 1 ระยะไข้สูง ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเกิดขึ้นฉับพลันและไข้จะสูงลอยตลอดเวลาอยู่ประมาณ 2-7 วัน กินยาลดไข้ ไข้มักจะไม่ลด หน้าแดง ตาแดง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ กระหายน้ำ เบื่ออาหาร อาเจียน ซึม บางรายอาจปวดท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือชายโครงขวาหรือปวดท้องทั่วไป และอาจมีท้องผูกหรือถ่ายเหลวร่วมด้วย ส่วนมากมักไม่มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลหรือไอมากแต่บางรายอาจมีอาการเจ็บคอ คอแดงและไอเล็กน้อยประมาณวันที่ 3 อาจมีผื่นแดง ไม่คันขึ้นตามแขนขาและลำตัวอยู่ประมาณ 2-3 วัน บางรายอาจมีจ้ำเขียวหรือจุดเลือดออกเกิดขึ้นซึ่งมีลักษณะเป็นจุดสีแดงเล็กๆ ขึ้นตามหน้า แขนขา ซอกรักแร้ ในช่องปาก และอาจคลำพบตับโตกดเจ็บเกิดขึ้นได้ ในระยะนี้ถ้ามีอาการรุนแรงจะปรากฏอาการระยะที่ 2 ต่อไป

ระยะที่ 2 ระยะช็อกและมีเลือดออก อาการมักจะเกิดช่วงวันที่ 3 – 7 ของโรคซึ่งถือว่าเป็นช่วงวิกฤต โดยอาการไข้จะลดลงอย่างรวดเร็วแต่ผู้ป่วยมักมีอาการทรุดหนักและมีภาวะช็อกเกิดขึ้น คือ กระสับกระส่าย เหงื่อออก ตัวเย็น มือเท้าเย็น ปัสสาวะออกน้อย ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว ความดันเลือดต่ำ ซึม นอกจากนี้อาจมีเลือดออกตามผิวหนังหรือมีจ้ำเขียวพรายย้ำขึ้น เลือดกำเดาไหล อาเจียน และถ่ายอุจจาระเป็นเลือดสดๆ หรือเป็นสีกาแฟ ระยะนี้กินเวลาประมาณ 24 – 48 ชม. ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีอาจอันตรายถึงชีวิตได้ แต่ถ้าผู้ป่วยสามารถผ่านช่วงวิกฤตนี้ไปได้ก็จะเข้าสู่ระยะที่ 3

ระยะที่ 3 ระยะฟื้นตัว ในรายที่ได้รับการรักษาถูกต้องและทันท่วงที ภาวะช็อกไม่รุนแรงอาการต่างๆจะเริ่มดีขึ้น และอาการที่แสดงว่าผู้ป่วยดีขึ้น คือ เริ่มรับประทานอาหารได้ ลุกนั่งได้ และร่างกายจะค่อยๆฟื้นตัวสู่สภาพปกติ ระยะนี้อาจกินเวลาประมาณ 2-3 วัน รวมระยะเวลาของโรคไข้เลือดออกที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนประมาณ 7-10 วัน

การรักษาโรคไข้เลือดออก

การรักษา โรคไข้เลือดออก นั้นยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัสที่มีฤทธิ์เฉพาะตัวสำหรับกำจัดเชื้อไวรัสเดงกี การรักษาตามอาการจึงเป็นสิ่งที่สมควรทำมากที่สุด ในขั้นแรกเมื่อมีไข้สูงจะให้ยาพาราเซตามอล ห้ามให้ใช้ยาแอสไพรินเด็ดขาด เพราะจะทำให้เลือดออกรุนแรงขึ้น หากมีอาการคลื่นไส้อาเจียนให้ใช้ยาแก้คลื่นไส้และให้ดื่มน้ำเกลือแร่ หรือน้ำผลไม้ครั้งละน้อยๆ แต่บ่อย รวมถึงสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เกิดภาวะช็อคได้ ซึ่งภาวะช็อคส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในช่วงที่ไข้ลด ผู้ปกครองควรทราบอาการ ได้แก่ อาการปวดท้อง ปัสสาวะน้อยลง มีอาการกระสับกระส่าย หรือเซื่องซีม มือเท้าเย็นพร้อมๆ กับไข้ลด หน้ามืด เป็นลมง่าย หากเกิดอาการเช่นนี้ให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที

04 สิงหาคม 2566

#อบต.พงษ์ ขอประชาสัมพันธ์การประเมินความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการสาธารณะขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น,องค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์,phonglocal.go.th

#อบต.พงษ์ ขอประชาสัมพันธ์การประเมินความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการสาธารณะขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

24 กรกฎาคม 2566

สื่อประชาสัมพันธ์เว็บไซต์เชื่อมโยงข้อมูลเพื่อการเผยแพร่ และถ่ายทอดองค์ความรู้ (Highland Information Portal),องค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์,phonglocal.go.th

สื่อประชาสัมพันธ์เว็บไซต์เชื่อมโยงข้อมูลเพื่อการเผยแพร่ และถ่ายทอดองค์ความรู้ (Highland Information Portal)

12 กรกฎาคม 2566

เห็ดพิษ....ภัยร้ายช่วงฤดูฝน,องค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์,phonglocal.go.th
ระวัง "เห็ดพิษ" ช่วงฤดูฝน เสี่ยงรับประทานอาจถึงชีวิต

      สภาพแวดล้อมในช่วงฤดูฝน เหมาะกับการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ของเห็ด ทำให้มีผู้คนบางพื้นที่นิยมเก็บเห็ดไปรับประทาน แต่หลายครั้งการเก็บเห็ดก็มีอันตรายแฝงอยู่ หากเห็ดที่เก็บไปเป็นเห็ดพิษ ซึ่งไม่สามารถแยกออกจากเห็ดที่สามารถรับประทานได้ ส่งผลให้มีอันตรายถึงแก่ชีวิต ถือเป็นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับเห็ดพิษ

ชนิดของเห็ดพิษในประเทศไทย

เห็ดพิษมีหลากหลายชนิดด้วยกัน แต่ที่สำคัญในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

  • กลุ่มที่ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ เช่น เห็ดระโงกหิน
  • กลุ่มที่ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ เช่น เห็ดเหลืองนกขมิ้น
  • กลุ่มที่ทำให้เกิดความผิดปกติต่อระบบทางเดินอาหาร เช่น เห็ดแดงน้ำหมาก เห็ดหัวกรวดครีบเขียว

อาการหลังรับประทานเห็ดพิษ

1. กลุ่มที่ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ

      หลังรับประทานเห็ดพิษกลุ่มนี้จะไม่มีอาการในตอนแรก แต่จะเริ่มมีอาการเมื่อผ่านไปแล้ว 4-6 ชั่วโมงเป็นต้นไป อาการเริ่มต้นคือคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย บางรายอาจมีอาการเกิดขึ้นช้ามากกว่า 10 ชั่วโมงหรือข้ามวันไปแล้ว หลังจากมีอาการผ่านไป 2-3 วัน การทำงานของตับจะเริ่มแย่ลง เอนไซม์ตับสูงขึ้น มีภาวะตับอักเสบ หากรุนแรงอาจเกิดตับวายและเสียชีวิตได้

2. กลุ่มที่ทำให้เกิดกล้ามเนื้อสลาย

       อาการเริ่มต้นคือคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย โดยจะมีอาการเร็วภายใน 6 ชั่วโมงหลังรับประทาน จากนั้นจะมีอาการของการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อปวดเมื่อยตามตัวร่วมด้วย รวมถึงปัสสาวะมีสีดำหรือสีโค้ก เนื่องจากมีของเสียในกล้ามเนื้อรั่วออกมาปนอยู่ในปัสสาวะ ในรายที่รุนแรงจะมีเกลือโพแทสเซียมที่รั่วออกมาจากกล้ามเนื้อมากจนมีหัวใจเต้นผิดจังหวะเสียชีวิตได้ นอกจากยังมีสารมัยโอโกลบินในกล้ามเนื้อรัวออกมาทำให้เกิดไตวายร่วมด้วย

3. กลุ่มที่ทำให้เกิดความผิดปกติต่อระบบทางเดินอาหาร

หลังรับประทานเกิดความผิดปกติกับระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย โดยจะมีอาการเร็วภายใน 6 ชั่วโมงหลังรับประทาน พิษจากเห็ดกลุ่มนี้จะไม่รบกวนอวัยวะในระบบอื่น ผู้ที่มีอาการรุนแรงสามารถเสียชีวิตได้เหมือนกับอาการท้องเสียหรืออาหารเป็นพิษที่รุนแรง ทำให้ขาดน้ำรุนแรง เกิดภาวะช็อคหรือความดันตกและเสียชีวิตได้

4. การรักษาเมื่อรับประทานเห็ดพิษ

       หากเริ่มมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หลังรับประทานเห็ดที่ไม่ได้ซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้นานกว่า 6 ชั่วโมงต้องระวังว่าเป็นเห็ดที่จะทำให้มีตับอักเสบควรรีบไปพบแพทย์ แต่ถ้าหากเพิ่งรับประทานเห็ดไปไม่เกิน 6 ชั่วโมงแล้วมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย อาจรักษาตัวเองเหมือนอาการอาหารเป็นพิษก่อนได้ แต่ถ้าหากอาการรุนแรง เช่น รับประทานไม่ไหว ดื่มน้ำเกลือแร่ไม่ไหว ปัสสาวะมีสีเข้มหรือสีโค้ก ท้องเสียมาก อ่อนเพลียมาก ปวดเมื่อยเนื้อตัวร่วมด้วย ควรรีบพบแพทย์

       แพทย์จะทำการซักประวัติว่าคนไข้รับประทานอะไรมาบ้าง ช่วงเวลาที่อาการแสดงเกิดขึ้นหลังรับประทานไปแล้วกี่ชั่วโมง หากว่าเพิ่งรับประทานอาหารไปแล้วมีอาการ แพทย์จะดูเรื่องเกลือแร่ หากพบเกลือแร่และโพรแทสเซียมสูง มีการทำงานที่กล้ามเนื้อผิดปกติ ปัสสาวะสีเปลี่ยน จะทำการส่งปัสสาวะไปตรวจว่ามีเม็ดสีจากมัยโอโกลบินออกมาหรือไม่ หากมีจะถูกจัดเป็นเคสรุนแรง หากมีอาการเฉพาะในทางเดินอาหารแพทย์จะให้น้ำและเกลือแร่เป็นหลัก

      ถ้าหากเป็นเห็ดพิษกลุ่มที่ทำให้ตับอักเสบ คือเริ่มมีอาการหลังรับประทานเห็ดนานกว่า 6 ชั่วโมง นอกจากแพทย์จะรักษาอาการคลื่นไส้ อาเจียนก่อน ยังอาจให้ผงถ่านกัมมันต์รับประทานเพื่อเร่งการขับของพิษ ในรายที่ประวัติชัดเจนอาจให้ยาชนิดอื่นๆเพื่อต้านการอักเสบของตับร่วมด้วยจากนั้นติดตามตรวจการทำงานของตับ หากมีการอักเสบของตับ จะต้องให้ยาต่อหากไม่มีอาการอักเสบแพทย์จะหยุดให้ยา

การป้องกัน ยึดหลัก "เห็ด ไม่รู้จัก ไม่แน่ใจ ไม่เก็บ ไม่กิน"

1. ไม่เก็บหรือกินเห็ดที่ไม่รู้จักหรือไม่แน่ใจว่ากินได้

2. ไม่เก็บเห็ดที่อยู่ในระยะอ่อนมากิน เช่น ระยะเป็นตุ่มหรือตูมที่มีรูปร่างคล้ายไข่ อาจจะไม่สามารถแยกเห็ดกินได้และเห็ดพิษออกจากกัน เนื่่องจากมีลักษณะคล้ายกันมากจนไม่สามารถแยกได้ด้วยตาเปล่า

3. ไม่เก็บเห็ดในบริเวณที่มีการใช้สารเคมี

4. ไม่เก็บเห็ดรวามกันมาในตะกล้าเดียวกันเพราะจะทำให้แยกชนิดของเห็นได้ยาก และหากมีเห็ดพิษสปอร์ของเห็ดจะตกมาปนเปื้อนกับเห็ดรับประทานได้

5. ไม่เกินเห็ดดิบโดยไม่ปรุงให้สุกก่อนกินจะทำให้เกิดพิษได้ เช่น เห็ดน้ำหมาก เป็นต้น

6. ไม่กินเห็ดร่วมกับแอลอฮอล์ เช่น เห็ดหิ่งห้อย เห็ดน้ำหมึก หรือเห็ดถั่วที่ขึ้นตามธรรมชาติ

7. ไม่กินเห็ดที่มีรูป รส กลิ่น สี ผิดไปจากเดิม

 

10 กรกฎาคม 2566

ไข้หวัดใหญ่ ป้องกันได้ห่างไกลโรค,องค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์,phonglocal.go.th

โรคไข้หวัดใหญ่ คืออะไร?

      โรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่(Influenza virus)โดยเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล สามารถจำแนกออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ ชนิดเอ บี และซี โดยที่พบมากที่สุด คือ ไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ (H1N1) (H3N2) รองลงมาได้แก่ ชนิด บี และชนิดซีพบการระบาดได้น้อย ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่พบมากที่สุดใน ฤดูฝน รองลงมามาคือในฤดูหนาว

อาการแสดง

      โดยทั่วไปของโรคไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้ ไอ น้ำมูก บางคนมีอาการเจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย อาการส่วนใหญ่จะไม่รุนแรง เป็นอยู่ประมาณ 3-5 วัน ซึ่งบางครั้งจะคล้ายโรคไข้หวัดธรรมดา แต่ท้ายที่สุด อาการก็จะหายไปเองได้ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ที่จะมีอาการรุนแรง เช่น ไอมาก หอบเหนื่อย หายใจลำบาก ซึ่งอาจเกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ทำให้ เกิดการอักเสบของปอด ทำให้ปอดบวม การหายใจล้มเหลว ซึ่งอาการอาจจะ รุนแรงจนถึงเสียชีวิตได้

การติดต่อของโรค

     ไวรัสไข้หวัดใหญ่ส่วนใหญ่จะติดต่อผ่านเสมหะของผู้ป่วย โดยการไอหรือจามแล้วเข้าสู่ปากหรือจมูกของผู้ใกล้ชิด และมีเพียงส่วนน้อยที่เกิดจากการสัมผัสกับเสมหะของผู้ป่วยบนสิ่งของเครื่องใช้ด้วยมือแล้วนำมาสัมผัสกับปากหรือจมูก

กลุ่มเสี่ยงอาจเสียชีวิตเมื่อป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่

  1. ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
  2. ผู้ที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว เช่น โรคปอด โรคหัวใจ โรคไต เบาหวาน ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  3. เด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี
  4. เด็กที่ทานยาแอสไพรินเป็นเวลานาน
  5. หญิงที่ตั้งครรภ์ในฤดูกาลที่มีไข้หวัดใหญ่ระบาด และมีอายุครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไป
  6. ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์

การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

  1. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทุกปี
  2. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
  3. ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสบู่ หากไม่มีให้ใช้แอลกอฮอล์เจล (Alcohol Gel) สำหรับล้างมือแทน
  4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณดวงตา จมูก หรือปาก
  5. ควรใส่หน้ากากอนามัย
  6. เมื่อเริ่มรู้สึกป่วย ให้หยุดอยู่บ้านเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น
  7. สวมหน้ากากอนามัยหรือปิดจมูกและปากด้วยผ้าหรือกระดาษทิชชูเวลาไอหรือจาม
  8. ทิ้งกระดาษทิชชูที่ใช้แล้วลงถังขยะติดเชื้อหรือถังขยะที่มีฝาปิด
07 กรกฎาคม 2566

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ อัศวินผู้พิชิตโรค,องค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์,phonglocal.go.th
เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่

     ไข้หวัดใหญ่ หรืออินฟลูเอนซา (Influenza virus) เป็นโรคที่ทุกคนทั่วไปน่ารู้จักกันเป็นอย่างดี แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ กลุ่ม A, กลุ่ม B และ กลุ่ม C โดยที่กลุ่ม A และ กลุ่ม B เป็นเชื้อก่อโรคที่มักพบได้บ่อยมากที่สุด ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีอาการทางระบบทางเดินหายใจ มีไข้สูง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย และปวดเมื่อยตามร่างกายได้ โดยอาการจะแตกต่างกันตามอายุของผู้ป่วย ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน จนอาจทำให้เสียชีวิตได้ 

     บุคคลที่มีความเสี่ยงสูงซึ่งหากได้รับเชื้อแล้วอาจเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย ได้แก่

- เด็กเล็กอายุระหว่าง 6 เดือน – 5 ปี ขึ้นไป

- หญิงตั้งครรภ์

- ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ขึ้นไป

- ผู้ที่มีโรคเรื้อรังต่าง ๆ 

- บุคลากรทางการแพทย์

     การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ได้รับการยอมรับในทางการแพทย์ว่า มีประสิทธิภาพที่ดีเพราะนอกจากจะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้แล้วยังสามารถลดอาการรุนแรงของโรคและลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้อีกด้วย โดยจะฉีดให้ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงเป็นหลัก ซึ่งควรได้รับการฉีดวัคซีนทุกปี วัคซีนไข้หวัดใหญ่จะถูกพัฒนาให้สอดคล้องกับสายพันธุ์ที่ระบาดในแต่ละปี ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก

ข้อห้ามในการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

- ผู้ที่มีประวัติแพ้วัคซีนไข้หวัดใหญ่หรือแพ้ส่วนประกอบของวัคซีน

- เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 6 เดือน

- ผู้ป่วยที่เป็นหรือมีประวัติเคยเป็นโรค Guillain-Barré Syndrome ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่

- ผู้ที่มีอาการป่วยถึงขั้นรุนแรง ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ไปก่อน

คำแนะนำ

     เนื่องจากการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ 100% ดังนั้นจึงควรดูแลรักษาสุขภาพของตนเองให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือใกล้ชิดผู้ป่วย หากจำเป็นควรสวมหน้ากากอนามัย ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น และหมั่นล้างมือบ่อยๆ

07 กรกฎาคม 2566

ประชาสัมพันธ์การออกพื้นที่ติดตามผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสทางสังคมในพื้นที่ตำบลพงษ์,องค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์,phonglocal.go.th

วันที่ 7 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.30 น. นายหาญชัย ไชยวงค์ นายอำเภอสันติสุข ประธานคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอสันติสุข (พชอ.สันติสุข) พร้อมด้วยองค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์ และชมรมคนสันติสุขไม่ทิ้งกัน พร้อมคณะทำงานฯ ลงพื้นที่ติดตามเยี่ยมเยียนผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสทางสังคมในพื้นที่ตำบลพงษ์ เพื่อรวบรวมข้อมูลสภาพปัญหาคุณภาพชีวตความเป็นอยู่ และนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาแนวทางในการแก้ไขให้ความช่วยเหลือและพัฒนาคถณภาพชีวิตได้อย่างมีความสุขยั่งยืน โดยใช้กลไก พชอ.สันติสุข พร้อมทั้งได้มอบสิ่งของอุปโภคบริโภค และเงินช่วยเหลือรายละ 500 บาท จำนวน 8 ราย เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจการดำรงชีวิตต่อไป

07 กรกฎาคม 2566

ประชาสัมพันธ์องค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์ ประกาศประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์ เรื่อง  หลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือนักเรียนที่มีฐานะยากจนหรือด้อยโอกาส ประจำปี 2566,องค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์,phonglocal.go.th
06 กรกฎาคม 2566

วันอนามัยสิ่งแวดล้อมไทย,องค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์,phonglocal.go.th

                ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2558 เห็นควรให้วันที่ 4 กรกฎาคม ของทุกปี เป็น “วันอนามัยสิ่งแวดล้อมไทย” และมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดกิจกรรมส่งเสริมการอนามัยสิ่งแวดล้อมในวันดังกล่าวของทุกปี เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและระลึกถึงพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ในฐานะที่พระองค์ทรงให้ความสำคัญและพัฒนาความรู้ทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นเตือนให้ประชาชนและหน่วยงานทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญของการอนามัยสิ่งแวดล้อม และเกิดการประสานความร่วมมือกันเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานดังกล่าวให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                 พื้นที่ในเขตรับผิดชอบของอบต.พงษ์ มีลักษณะพื้นที่แถบภูเขาและที่ราบระหว่างเขา มีป่าไม้และต้นไม้จำนวนมาก ประกอบกับประชากรในพื้นที่ประกอบอาชีพเกษตรกรมากกว่าร้อยละ 70 ทำให้บางแห่งยังพบเจอการทำไร่เลื่อนลอย หรือการเผาป่าทำนาทำไร่อยู่ อบต.พงษ์จึงมีกิจกรรมการป้องกันไฟป่าและฝุ่นละอองขึ้น เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่มากขึ้น

06 กรกฎาคม 2566

ประชาสัมพันธ์มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อทางอาหารและน้ำช่วงฤดูฝน,องค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์,phonglocal.go.th

เนื่องจากประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝน อากาศจะมีความเย็นและชื้น เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคหลายชนิด อบต.พงษ์เล็งเห็นความสำคัญจึงขอประชาสัมพันธ์มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ ให้ประชาชาในพื้นที่ทราบ

30 มิถุนายน 2566

โรคติดต่อช่วงฤดูฝน,องค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์,phonglocal.go.th

           เริ่มเข้าฤดูฝน อากาศเปลี่ยนแปลง หากใครที่ไม่ดูแลสุขภาพให้ดี พักผ่อนให้เพียงพอ หรือรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกาย ก็อาจทำให้เจ็บป่วยได้ง่ายๆ ซึ่งโรคต่างๆ ที่มักเป็นกันบ่อยในช่วงนี้มีหลายกลุ่ม ทั้งกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ กลุ่มโรคที่ติดต่อทางน้ำและอาหาร กลุ่มโรคที่ติดเชื้อทางบาดแผลหรือเยื่อบุผิวหนัง กลุ่มโรคที่มียุงเป็นพาหะ และโรคที่เป็นมากในเด็กเล็กนั่นก็คือโรค มือ เท้า ปาก ดังนั้นมาทำความรู้จักกับแต่ละโรคให้มากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมรับมือหน้าฝนกันดีกว่า

1. กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ

โรคในกลุ่มนี้มีหลายโรค เช่น

  • โรคไข้หวัดใหญ่
  • โรคหลอดลมอักเสบ
  • โรคปอดอักเสบ และปอดบวม

        เกิดจากสภาพอากาศที่แปรปรวนบวกกับการหายใจเอาเชื้อไวรัสที่กระจายอยู่ในอากาศจากการไอ จาม ของผู้ป่วยเข้าไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหน้าฝนที่อากาศชื้น จะยิ่งทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายได้ง่ายมาก เพียงแค่สัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนกับเชื้อไวรัส หรือสัมผัสกับน้ำมูกที่ปนเปื้อนเชื้อโรค ก็สามารถติดต่อกันได้แล้ว ดังนั้นวิธีการป้องกันคือ หากมีอาการป่วย หรือต้องอยู่ในที่ชุมชนแออัด ให้สวมใส่หน้ากากอนามัย ปิดปาก ปิดจมูกเวลาไอ หรือจาม ที่สำคัญควรหมั่นล้างมือบ่อยๆ

2. กลุ่มโรคที่มียุงเป็นพาหะ

โรคในกลุ่มนี้มีหลายโรค เช่น

  • โรคไข้เลือดออก
  • โรคไข้สมองอักเสบ เจอี
  • และโรคมาลาเรีย

        ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุง ไม่ว่าจะเป็นยุงลาย ยุงรำคาญ หรือยุงก้นปล่อง เป็นพาหะ โดยส่วนใหญ่มักจะแพร่พันธุ์ในแหล่งน้ำตามทุ่งนา หรือภาชนะที่มีน้ำขัง อาการที่แสดงออกส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะมีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ หากเป็นหนักอาจถึงขั้นช็อค หมดสติและเสียชีวิตได้ ทางที่ดีจึงควรป้องกันโดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรค และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง รวมถึงหลีกเลี่ยงการโดนยุงกัด การเดินป่าในหน้าฝน หรือพยายามอยู่ให้ห่างจากพื้นที่ที่มีต้นไม้เยอะ

3. กุล่มโรคติดต่อทางน้ำและอาหาร

โรคที่พบบ่อยในกลุ่มนี้ ได้แก่

  • โรคท้องเดิน
  • โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน
  • โรคบิด
  • โรคอาหารเป็นพิษ
  • โรคตับอักเสบ เป็นต้น

        โดยสาเหตุเกิดจากการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่ไม่สะอาด มีการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์และเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหารและลำไส้ ผู้ป่วยมักมีอาการปวดท้อง ท้องเดิน ถ่ายไม่หยุด อาเจียน บางรายเป็นหนักถึงขั้นขาดน้ำและหมดสติได้ ดังนั้นจึงควรระมัดระวังเรื่องอาหารการกินมากเป็นพิเศษ โดยการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ใช้ช้อนกลาง ใช้ภาชนะใส่อาหารและน้ำดื่มที่ล้างสะอาด และควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร

4. กลุ่มโรคติดเชื้อทางบาดแผลหรือเยื่อบุผิวหนัง

โรคที่พบบ่อยในกลุ่มนี้ ได้แก่

  • โรคแลปโตสไปโรซิส หรือที่รู้จักกันในนาม "โรคฉี่หนู"
  • และโรคตาแดง

        ซึ่งสาเหตุมาจากการสัมผัสกับน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค โดยเฉพาะเชื้อโรคที่มาพร้อมกับน้ำท่วมขัง น้ำเสียในท่อระบายน้ำ น้ำที่ปนเปื้อนสิ่งปฏิกูลทั้งจากคนและสัตว์ สัมผัสดิน สัมผัสอาหารที่ปนเปื้อนปัสสาวะ เลือด หรือเนื้อเยื่อของของสัตว์ที่ติดเชื้อชนิดนี้ เช่น สุนัข วัว ควาย หนู สุกร ม้า สัตว์ป่า เป็นต้น

       กลุ่มเสี่ยงผู้ที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่คือ กลุ่มเกษตรกร ชาวนา ชาวไร่ และประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมขัง คนงานในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ และพนักงานขุดท่อระบายน้ำ ทั้งนี้หลังได้รับเชื้อประมาณ 1-2 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ มักปวดกล้ามเนื้อบริเวณน่องและโคนขาอย่างรุนแรง รวมถึงอาการตาแดง คอแข็ง สลับกับไข้ลด หากเป็นมากอาจมีจุดเลือดออกที่เพดานปาก หรือตามผิวหนัง หากเป็นหนักอาจมีอาการตับวายและไตวายได้ ดังนั้นวิธีป้องกันกันคือ หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำหรือการเดินลุยในน้ำที่อาจปนเปื้อนเชื้อปัสสาวะจากสัตว์นำโรค หากจำเป็นควรสวมใส่รองเท้าบูทป้องกันทุกครั้ง และหมั่นตรวจตราแหล่งน้ำและดินทรายที่อาจมีเชื้อปนเปื้อน ควรระบายน้ำตามท่อระบายออกแล้วล้างเพื่อกำจัดน้ำที่ปนเปื้อน

5. โรค มือ เท้า ปาก

       โรคนี้พบบ่อยในเด็กเล็ก ติดต่อง่าย ไม่มีวัคซีนป้องกัน และมีโอกาสเป็นเพิ่มมากขึ้นในช่วงหน้าฝน โดยสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโรไวรัส หลังจากรับเชื้อ 3-6 วัน ผู้ติดเชื้อจะเริ่มแสดงอาการป่วย เริ่มด้วยไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย 1-2 วัน เจ็บปาก ไม่ยอมรับประทานอาหาร น้ำลายไหล เพราะมีแผลในปากเหมือนแผลร้อนใน มีผื่นเป็นจุดแดงหรือเป็นตุ่มน้ำใสขึ้นบริเวณ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และอาจมีตามลำตัว แขน ขา

       ส่วนวิธีการป้องกันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ ดังนั้นการป้องกันที่สำคัญ คือ แยกผู้ป่วยที่เป็นโรคไม่ให้ไปสัมผัสกับเด็กคนอื่น ผู้ใหญ่ที่ดูแลเด็กควรหมั่นล้างมือเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ และหมั่นทำความสะอาดของเล่นและสิ่งแวดล้อมที่เด็กอยู่ทุกวัน

30 มิถุนายน 2566

ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์ เรื่องการขยายกำหนดเวลาดำเนินการตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ประจำปี 2566,องค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์,phonglocal.go.th

การขยายกำหนดเวลาดำเนินการตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ประจำปี 2566

27 มิถุนายน 2566

26 มิถุนายน  วันต่อต้านยาเสพติดโลก,องค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์,phonglocal.go.th

         องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปีเป็น "วันต่อต้านยาเสพติดโลก" เพื่อให้ทุกประเทศทั่วโลกได้ตระหนักถึงภัยคุกคามของปัญหายาเสพติด ที่เป็นวาระสำคัญและส่งผลกระทบต่อมวลมนุษยชาติทั่วโลก สำหรับประเทศไทยซึงเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ จึงได้แสดงเจตนารมณ์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดร่วมกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ด้วยการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อให้ทุกภาคส่วนของสังคมได้ตระหนักถึงภัยยาเสพติด ร่วมกันเฝ้าระวัง สร้างพื้นที่/กิจกรรมเชิงบวก ผ่านกิจกรรมการแสดงพลังต่อต้านยาเสพติดในรูปแบบต่างๆ ทั้งให้รูปแบบการจัดหมกรรมสร้างกระแสการมีส่วมร่วมของประชาชน และการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางออนไลน์ ภายใต้กรอบแนวคิด "รวมพลังไทย หยุดภัยยาเสพติด"

23 มิถุนายน 2566

รวมพลังไทย หยุดภัยยาเสพติด,องค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์,phonglocal.go.th

26 มิถุนายน วันต่อต้านยาเสพติดโลก

23 มิถุนายน 2566

1 2 3 4 5..... >> >|

ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 / 8  (116 รายการ)