|
![]() | โครงการกิจกรรมประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ ปีงบประมาณ 2566 วันอังคารที่ 11 ตุลาคม 2565 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ประชาชนตำบลพงษ์และพนักงานในองค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์ อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน จำนวน 150 คน ด้วย วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปีเป็นวันออกพรรษา และในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 เป็นวันเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติ ที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงจากเทวโลกกลับจากการโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในวันออกพรรษา หรือวันมหาปวารณาออกพรรษาของพระสงฆ์โดยตรงเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาเนื่องจากเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาจำพรรษา 3 เดือนของพระสงฆ์ ชาวพุทธจึงถือเป็นประเพณีสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ที่จัดตรียมจัดอาหารเพื่อใส่บาตร เรียกกันว่า“ตักบาตรเทโวโรหณะ” มีความหมายว่าเป็นการ”ตักบาตรเนื่องในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลง จาก เทวโลก” เพื่อเป็นกระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติ องค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์ จึงดำเนิน โครงการกิจกรรมประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ ปีงบประมาณ 2566 ขึ้น ในวันอังคารที่ 11 ตุลาคม 2565 ณ วัดบ้านศรีบุญเรือง บ้านศรีบุญเรือง หมู่ที่ 2 ตำบลพงษ์ อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนชาวตำบลพงษ์ได้ร่วมระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติ
15 ตุลาคม 2565 |
![]() | วันที่ 29 กันยายน 2565 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) และองค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์ จัดกิจกรรมเปิดศูนย์เรียนรู้ชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste) ชุมชนบ้านศรีบุญเรือง ต.พงษ์ อ.สันติสุข จ.น่าน โดยมีนางภาวินี ณ สายบุรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธี และนายกฤชเพชร เพชระบูรณิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน พร้อมด้วยผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องถิ่นและประชาชนชาวจังหวัดน่าน ให้การต้อนรับ
.
ทั้งนี้ ชุมชนบ้านศรีบุญเรือง เป็นชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste) ได้รับรางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประจำปี 2564 เป็นชุมชนที่มีความพร้อมในการพัฒนาและนำนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ปฏิบัติจนเห็นผลเป็นรูปธรรม ซึ่งเกิดจากผู้นำที่เข้มแข็ง กล้าคิดกล้าทำ มีความสามัคคีและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาภายในชุมชน เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานให้กับเครือข่ายสถานศึกษา ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่สนใจ ทั้งในจังหวัดน่านและจังหวัดอื่นๆ ได้นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนทั้งสิ้น 200 คน
#ขอขอบคุณทุกภาคส่วนราชการ ประชาชน คณะครู นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วยคะ 30 กันยายน 2565 |
![]() | 30 กันยายน 2565 |
![]() | 30 กันยายน 2565 |
![]() | 30 กันยายน 2565 |
![]() | 26 กันยายน 2565 |
![]() | 23 กันยายน 2565 |
![]() | 15 กันยายน 2565 |
![]() | 14 กันยายน 2565 |
![]() | .....วันที่ 9 เดือน 9
#องค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์ จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ (ต้นชมพูพันธ์ุทิพย์) จำนวน 300 ต้น ถนนสายสันติสุข-แม่จริม เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวสู่ถนนหมายเลข 5 บ้านดอนใหม่ ตำบลพงษ์ อำเภอสันติสุข และเป็นการขับเคลื่อนตามนโยบายปลูกต้นไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง 1 ล้านไร่ ถวายพ่อโดยทั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากคณะผู้บริหาร พนักงานเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบบลพงษ์ทุกท่านเป็นอย่างดี จึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
#โครงการปลูกต้นไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง 09 กันยายน 2565 |
![]() | วันนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์ นำโดย นายผัด ไชยกาอินทร์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์ ได้มอบหมายให้ นายวิสูตร ขัตติยะ รองนายกอบต.พงษ์ และนายขรรค์ชัย หิมมะวัน ประธานสภาอบต.พงษ์ พร้อมด้วยสมาชิกสภาอบต.พงษ์ พนักงานส่วนตำบลพงษ์ ได้ร่วมแรงร่วมใจกัน เทพื้นปูนซีเมนต์สร้างบ้านให้กับ นายไชย กันเสน บ้านเลขที่140 ม.2 ต.พงษ์ อ.สันติสุข จ.น่าน ตามโครงการปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกของผู้สูงอายุให้เหมาะสมปลอดภัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 โดยได้รับงบประมาณจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดน่านงบประมาณทั้งสิ้น 40,000 บาท และชุมชนสมทบอีกจำนวนหนึ่ง ในการนี้ ขอขอบพระคุณทุกๆ ท่าน ที่ได้สละเวลา และแรงกาย ได้ช่วยเหลือในครั้งนี้ขอบคุณครับ 05 กันยายน 2565 |
![]() | 05 กันยายน 2565 |
![]() | 02 กันยายน 2565 |
![]() | 09 สิงหาคม 2565 |
![]() | ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน โลกกำลังเผชิญกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Chang) ที่ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น หรือที่เรียกว่า สภาวะโลกร้อน ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ อาทิ เกิดความแห้งแล้ง เกิดไฟไหม้ป่า ฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาลอากาศหนาวและมีหิมะตกในประเทศที่ไม่เคยมีหิมะตก เป็นต้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการตัดต้นไม้ทำลายป่าของมนุษย์ ทำให้ทรัพยากรป่าไม้ของประเทศในปัจจุบันมีจำนวนที่ลดลงอย่างมาก ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นอย่างมาก หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างตระหนักให้เห็นความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และระบบนิเวศมากขึ้น ซึ่งจะสามารถช่วยให้ทรัพยากรทางธรรมชาติกลับมามีความสมดุลเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับพระราชปณิธานพระปฐมบรมราชโองการ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานว่า “เราจะสืบสาน รักษาต่อยอดและครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป” ได้สร้างความปลื้มปีติแก่พสกนิกรทุกหมู่เหล่าเป็นอย่างยิ่งพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการพัฒนาเพื่อราษฎรมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องสืบมาจนถึงปัจจุบัน พระราชปณิธานในสมเด็จพระบรมชนกนาถ ได้ถ่ายทอดมายังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเรียนรู้หลักการทรงงาน โดยเสด็จ ไปทรงเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคต่างๆ ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ได้ทอดพระเนตรความเป็นอยู่ของราษฎรอย่างใกล้ชิด ทรงยึดมั่นในพระปณิธาน ทรงพระวิริยะอุตสาหะ มุ่งมั่นปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อความสุขความเจริญก้าวหน้าแก่บ้านเมืองและประชาชนทุกหมู่เหล่า ทรงห่วงใยเรื่องสภาวะโลกร้อนและเรื่องป่าไม้มาตลอด ดังนั้นจึงมุ่งมันที่จะค้นหาวิธีการเพิ่มปริมาณป่าไม้เพื่อเกื้อกูลแก่ธรรมชาติอื่นๆ ซึ่งได้แก่ ดิน น้ำ อากาศ โดยวิธีการที่เรียบง่ายและประหยัดวิธีการหนึ่งนั้นคือ การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง “...การปลูกป่า ถ้าให้ราษฎรมีประโยชน์ให้เขาอยู่ได้ ให้ใช้วิธีปลูกป่า 3 อย่าง ได้แก่ ป่าสำหรับใช้สอย ป่าสำหรับเป็นไม้ผลและป่าสำหรับเป็นเชื้อเพลิง ประโยชน์ 4 อย่าง ได้แก่ ปลูกไม้ให้พออยู่ พอกิน พอใช้และระบบนิเวศน์ โดยปลูกรองรับการชลประทาน ปลูกรับซับน้ำและปลูกอุดช่องไหลตามร่องห้วย โดยรับน้ำฝนอย่างเดียว ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ...”เพื่อจะทำให้เกิดป่าผสมผสานและสร้างสมดุลแก่ธรรมชาติอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นการขับเคลื่อนการดำเนินงาน “โครงการรักน้ำ รักษ์ป่า รักษาแผ่นดิน”สามารถสนองตอบความต้องการของรัฐและวิถีประชาในชุมชนให้อยู่ร่วมกันได้ สร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการดูแลและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการอนุรักษ์น้ำและป่าไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียวและฟื้นฟูแหล่งต้นน้ำลำธารปลูกต้นไม้รักษาทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ที่ถูกบุกรุก ประกอบกับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เป็นโครงการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสืบทอดงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชการที่ 9 ทรงอนุรักษ์ต้นยางนา ตั้งแต่ปี 2503 ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยปรากฏในรูปแบบกิจกรรมต่างๆประกอบด้วยกิจกรรมอนุรักษ์พันธุกรรมพืชในพื้นที่ป่าธรรมชาติการสำรวจรวบรวมพันธุกรรมพืชที่มีแนวโน้มว่าใกล้สูญพันธุ์อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การนำพันธุ์พืชที่รวบรวมเพาะปลูกและรักษาในพื้นที่ที่เหมาะสมทางกายภาพและปลอดภัยจากการรุกราน การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช โครงการศึกษาประเมินพันธุกรรมพืชในด้านต่างๆให้ทราบองค์ประกอบ คุณสมบัติและการใช้ประโยชน์พืชพรรณการจัดทำระบบข้อมูลพันธุกรรมพืชด้วยคอมพิวเตอร์ การวางแผนและพัฒนาพันธุกรรมพืชระยะยาว 30 - 50 ปี และกิจกรรมการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชแก่กลุ่มเป้าหมายต่างๆ ได้แก่ เยาวชน บุคคลทั่วไป ให้มีความเข้าใจตระหนักในความสำคัญเกิดความปิติ และสำนึกที่จะร่วมมือร่วมใจกันอนุรักษ์พืชพรรณของไทยให้คงอยู่เป็นทรัพยากรอันทรงคุณค่าประจำชาติสืบไปถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีในการพลิกฟื้นผืนป่าที่เสื่อมสภาพให้กลับมาเป็นป่าที่สมบูรณ์สร้างความตระหนัก ปลูกจิตสำนึกความรักสามัคคีในหมู่คณะ พร้อมเชิญชวนประชาชน เยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมปลูกป่าแบบประชารัฐในพื้นที่อื่นๆ ครอบคลุมพื้นที่ทั่วจังหวัด ซึ่งนอกจากจะช่วยคืนความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ธรรมชาติแล้วยังพัฒนาให้เป็นพื้นที่แหล่งเรียนรู้และนันทนาการสำหรับเยาวชนซึ่งถือเป็นต้นกล้าเมล็ดพันธุ์ความดี สร้างจิตสำนึก ตระหนักรู้หวงแหน อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ให้อยู่คู่ชุมชนสังคมต่อไปได้ องค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์ ในฐานะที่มีหน้าที่รับผิดชอบตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 มาตรา 67(7) โดยกำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องคุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล และเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสอันเป็นมหามงคลและสนองแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำและป่าไม้ รวมทั้งเป็นการสร้างจิตสำนึกของประชาชนในการรักษาสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ องค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์ มีความตระหนักและให้ความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมนำแนวทางการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชให้พืชที่หายากอยู่คู่กับท้องถิ่นจึงได้จัดทำ โครงการส่งเสริมการจัดการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กิจกรรม : เยาวชนฅนต้นกล้า จิตอาสาใส่ใจสิ่งแวดล้อม ปีที่ 2) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ขึ้น วัตถุประสงค์ 1. เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้และทำความเข้าใจธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศน์ชุมชน วิถีชุมชนจากประสบการณ์จริงโดยใช้ศิลปะเป็นสื่อนำ จะนำไปสู่จิตสำนึกที่ตระหนักต่อคุณค่าและความสำคัญของทรัพยากรท้องถิ่น มีความรัก ความหวงแหนในทรัพยากรธรรมชาติของท้องถิ่น รักโรงเรียน รักท้องถิ่น บ้านเกิด รักสังคมและรักประเทศชาติ 2. เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับการส่งเสริมพัฒนาการแบบบูรณาการผ่านกิจกรรมโครงการที่เน้นการมีส่วนร่วมการทำงานเป็นทีม การแก้ไขปัญหา การปรับตัวในการอยู่ร่วมกัน จะช่วยสร้างวินัยทางสังคม ที่ดี เช่น ความรับผิดชอบและมีจิตใจที่เสียสละไม่เห็นแก่ตัว เป็นลักษณะของจิตอาสาทำความดีเพื่อส่วนรวม เพื่อสังคม ซึ่งจะนำไปสู่ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความอ่อนโยน ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การแบ่งปัน ความรัก ความสามัคคี ซึ่งจะส่งผลสู่ความเป็นชุมชน สังคมที่เข้มแข็ง 3. เพื่อสนองแนวพระราชดำริและสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ให้ตระหนักถึงความสำคัญของพันธุกรรมพืชต่างๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทย 4. เพื่อให้มีการร่วมคิดร่วมปฏิบัติที่นำผลประโยชน์มาถึงประชาชนชาวไทยตลอดจนให้มีการจัดทำระบบข้อมูลพันธุกรรมพืช ให้แพร่หลายสามารถสื่อถึงกันได้ทั่วประเทศ 5. เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ทรัพยากรธรรมชาติตามแนวพระราชดำริประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์รักษาป่าต้นน้ำลำธารณะ 6. เพื่อสร้างความสามัคคี ปรองดอง และความสมานฉันท์ของประชาชนตำบลพงษ์ และขับเคลื่อนแนวพระปณิธานการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่างและ “โครงการรักน้ำ รักษ์ป่า รักษาแผ่นดิน” 07 กรกฎาคม 2565 |