|
โครงการส่งเสริมการจัดการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กิจกรรม : เยาวชนฅนต้นกล้า จิตอาสาใส่ใจสิ่งแวดล้อม) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน โลกกำลังเผชิญกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Chang) ที่ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น หรือที่เรียกว่า สภาวะโลกร้อน ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ อาทิ เกิดความแห้งแล้ง เกิดไฟไหม้ป่า ฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาล อากาศหนาวและมีหิมะตกในประเทศที่ไม่เคยมีหิมะตก เป็นต้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการตัดต้นไม้ทำลายป่าของมนุษย์ ทำให้ทรัพยากรป่าไม้ของประเทศในปัจจุบันมีจำนวนที่ลดลงอย่างมาก ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นอย่างมาก หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างตระหนักให้เห็นความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และระบบนิเวศมากขึ้น ซึ่งจะสามารถช่วยให้ทรัพยากรทางธรรมชาติกลับมามีความสมดุลเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับพระราชปณิธานพระปฐมบรมราชโองการ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานว่า “เราจะสืบสาน รักษา ต่อยอดและครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป” ได้สร้างความปลื้มปีติแก่พสกนิกรทุกหมู่เหล่าเป็นอย่างยิ่งพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการพัฒนาเพื่อราษฎรมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องสืบมาจนถึงปัจจุบัน พระราชปณิธานในสมเด็จพระบรมชนกนาถ ได้ถ่ายทอดมายังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเรียนรู้หลักการทรงงาน โดยเสด็จ ไปทรงเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคต่างๆ ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ได้ทอดพระเนตรความเป็นอยู่ของราษฎรอย่างใกล้ชิด ทรงยึดมั่นในพระปณิธาน ทรงพระวิริยะอุตสาหะ มุ่งมั่นปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อความสุขความเจริญก้าวหน้าแก่บ้านเมืองและประชาชนทุกหมู่เหล่า ทรงห่วงใยเรื่องสภาวะโลกร้อนและเรื่องป่าไม้มาตลอด ดังนั้น จึงมุ่งมันที่จะค้นหาวิธีการเพิ่มปริมาณป่าไม้เพื่อเกื้อกูลแก่ธรรมชาติอื่นๆ ซึ่งได้แก่ ดิน น้ำ อากาศ โดยวิธีการที่เรียบง่ายและประหยัดวิธีการหนึ่งนั้นคือ การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง “...การปลูกป่า ถ้าให้ราษฎรมีประโยชน์ให้เขาอยู่ได้ ให้ใช้วิธีปลูกป่า 3 อย่าง ได้แก่ ป่าสำหรับใช้สอย ป่าสำหรับเป็นไม้ผลและป่าสำหรับเป็นเชื้อเพลิง ประโยชน์ 4 อย่าง ได้แก่ ปลูกไม้ให้พออยู่ พอกิน พอใช้และระบบนิเวศน์ โดยปลูกรองรับการชลประทาน ปลูกรับซับน้ำและ ปลูกอุดช่องไหลตามร่องห้วย โดยรับน้ำฝนอย่างเดียว ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ...” เพื่อจะทำให้เกิดป่าผสมผสานและสร้างสมดุลแก่ธรรมชาติอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นการขับเคลื่อนการดำเนินงาน “โครงการรักน้ำ รักษ์ป่า รักษาแผ่นดิน” สามารถสนองตอบความต้องการของรัฐและวิถีประชาในชุมชนให้อยู่ร่วมกันได้ สร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการดูแลและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการอนุรักษ์น้ำและป่าไม้ เพิ่มพื้นที่สีเขียวและฟื้นฟูแหล่งต้นน้ำลำธาร ปลูกต้นไม้รักษาทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ที่ถูกบุกรุก ประกอบกับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เป็นโครงการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสืบทอดงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชการที่ 9 ทรงอนุรักษ์ต้นยางนา ตั้งแต่ปี 2503 ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยปรากฏในรูปแบบกิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วยกิจกรรมอนุรักษ์ /พันธุกรรม.. พันธุกรรมพืชในพื้นที่ป่าธรรมชาติ การสำรวจรวบรวมพันธุกรรมพืชที่มีแนวโน้มว่าใกล้สูญพันธุ์ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การนำพันธุ์พืชที่รวบรวมเพาะปลูกและรักษาในพื้นที่ที่เหมาะสมทางกายภาพและปลอดภัยจากการรุกราน การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช โครงการศึกษาประเมินพันธุกรรมพืชในด้านต่างๆ ให้ทราบองค์ประกอบ คุณสมบัติและการใช้ประโยชน์พืชพรรณ การจัดทำระบบข้อมูลพันธุกรรมพืชด้วยคอมพิวเตอร์ การวางแผน และพัฒนาพันธุกรรมพืชระยะยาว 30 - 50 ปี และกิจกรรมการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ พันธุกรรมพืชแก่กลุ่มเป้าหมายต่างๆ ได้แก่ เยาวชน บุคคลทั่วไป ให้มีความเข้าใจ ตระหนักในความสำคัญเกิดความปิติ และสำนึกที่จะร่วมมือร่วมใจกันอนุรักษ์ พืชพรรณของไทยให้คงอยู่เป็นทรัพยากรอันทรงคุณค่าประจำชาติสืบไป ถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีในการพลิกฟื้นผืนป่าที่เสื่อมสภาพให้กลับมาเป็นป่าที่สมบูรณ์ สร้างความตระหนัก ปลูกจิตสำนึกความรักสามัคคีในหมู่คณะ พร้อมเชิญชวนประชาชน เยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมปลูกป่าแบบประชารัฐในพื้นที่อื่นๆ ครอบคลุมพื้นที่ทั่วจังหวัด ซึ่งนอกจากจะช่วยคืนความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ธรรมชาติแล้วยังพัฒนาให้เป็นพื้นที่แหล่งเรียนรู้และนันทนาการสำหรับเยาวชนซึ่งถือเป็นต้นกล้าเมล็ดพันธุ์ความดี สร้างจิตสำนึก ตระหนักรู้หวงแหน อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ให้อยู่คู่ชุมชนสังคมต่อไปได้
องค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์ ในฐานะที่มีหน้าที่รับผิดชอบตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 มาตรา 67(7) โดยกำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องคุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล และเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสอันเป็นมหามงคลและสนองแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำและป่าไม้ รวมทั้งเป็นการสร้างจิตสำนึกของประชาชนในการรักษาสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ องค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์ มีความตระหนักและให้ความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมนำแนวทางการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชให้พืชที่หายากอยู่คู่กับท้องถิ่น จึงได้จัดทำ โครงการส่งเสริมการจัดการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กิจกรรม : เยาวชนฅนต้นกล้า จิตอาสาใส่ใจสิ่งแวดล้อม) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ขึ้น
๒. เพื่อเป็นน้อมรำลึกและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลา ธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ๓. เพื่อสนองแนวพระราชดำริและสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ให้ตระหนักถึงความสำคัญของพันธุกรรมพืชต่างๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทย
6. เพื่อสร้างความสามัคคี ปรองดอง และความสมานฉันท์ของประชาชนตำบลพงษ์ และขับเคลื่อนแนว พระปณิธานการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง และ “โครงการรักน้ำ รักษ์ป่า รักษาแผ่นดิน” 20 สิงหาคม 2564
|