ยินดีต้อนรับเข้าสู่องค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์ อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน

แจ้งเรื่องร้องเรียนสายผู้บริหาร

ภารกิจผู้บริหาร

ปลัด





ปปช




oss

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์

facebook







คำพิพากษาของศาลปกครอง

ปราบปรามทุจริต



ศูนย์ดำรงธรมม



สถิติการเข้าชม เริ่มวันที่ 5/03/2563
วันนี้
23
เมื่อวานนี้
56
เดือนนี้
803
เดือนที่แล้ว
3,099
ปีนี้
27,794
ปีที่แล้ว
17,472
ทั้งหมด
66,019
ไอพี ของคุณ
18.205.26.39

จุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning)

 

 

จุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning) ขององค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์


          การกำหนดตำแหน่งจุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning) ขององค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์ จะให้ความสอดคล้องของประเด็นความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ที่สำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๒ ยุทธศาสตร์ชาติ และยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด จะเห็นได้ว่ามีความเชื่อมโยงกันอย่างชัดเจนในการนำมาเป็นแนวทางกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ชัดเจนจะเป็นการเตรียมการพัฒนา เป็นการนำภูมิคุ้มกันที่มีอยู่ พร้อมทั้งเร่งสร้างภูมิคุ้มกันในท้องถิ่นให้เข้มแข็งขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมคน สังคม และระบบเศรษฐกิจของชุมชนให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการสภาวการณ์เปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม และภายใต้สถานการณ์ความเสี่ยงซึ่งเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงในจังหวัดและภายในประเทศ โดยเฉพาะความเคลื่อนไหวทางการเมืองในระดับประเทศ และระดับโลกมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ พลังงาน และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่เป็นไปอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อท้องถิ่น ดังนั้น ทิศทางการบริหารจัดการตำบล จึงมุ่งเน้นภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จึงเป็นการใช้จุดแข็งและศักยภาพที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตำบล เพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค การพัฒนาด้านการศึกษา เศรษฐกิจภายในตำบล เพื่อเป็นฐานรากในการพัฒนาเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มอาชีพ ภาคการเกษตร ขณะเดียวกันจำเป็นต้องปรับตัวในการเชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจในระดับจังหวัด ภูมิภาคและระดับประเทศ การก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่งที่ต้องก้าวไปพร้อมกับการยกระดับคุณภาพชีวิต การเสริมสร้างองค์ความรู้ การพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ ให้เป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของตำบล

 

        นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการองค์กร เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคมให้ความสำคัญกับการพัฒนาการบริหารราชการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนและเป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีรวมทั้งการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการบริหารงานขององค์กร ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงทรัพยากรอย่างมีส่วนร่วม ควบคู่กับการปลูกจิตสำนึกค่านิยมประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลแก่ประชาชนทุกกลุ่ม โดยยังคงยึดหลักการตามวิสัยทัศน์ของ องค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์คือ “ตำบลพอเพียง เมืองต้นน้ำ วัฒนธรรมหลากหลาย ปลายทางพัฒนาสู่อาเซียน” โดยการประยุกต์ใช้แนวคิดดังกล่าวและสร้างความมั่นใจว่าการพัฒนาจะเป็นไปในแนวทางที่ยั่งยืนและสร้างความสุขให้คนตำบลพงษ์ ทุกภาคส่วนต้องพิจารณาการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกตำบลอย่างรอบคอบ และวางจุดยืนในการพัฒนาระยะยาว กรอบแนวคิดการพัฒนาตำบลพงษ์ จึงเป็นการดำเนินการเพื่อให้บรรลุภารกิจและวิสัยทัศน์ ของตำบลพงษ์ โดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญานำทาง และคำนึงถึงบริบทการเปลี่ยนแปลงที่จะเป็นทั้งโอกาสและข้อจำกัดเป็นแนวทางในการพัฒนาในอนาคต ดังนี้

   

ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืน (Enhancing the efficiency and Development of occupational sustainable)
       การพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางคมนาคม ประปา ไฟฟ้า และสาธารณูปการสิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร และผังเมือง คือการเตรียมความพร้อม อำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าเกษตร และการท่องเที่ยงเชิงเกษตร เนื่องจากในพื้นที่มีสวนยางพารา ไร่ข้าวโพด ที่มีศักยภาพ สิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ ไปด้วยป่าไม้

      การส่งเสริมอาชีพ กลุ่มอาชีพ ทั้งอาชีพหลัก โดยเฉพาะเกษตรกรสวนยางพารา และสวนเกษตรผสมผสาน เศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งการทำการเกษตรควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การทำเกษตรอย่างยั่งยืน

     การส่งเสริมการพัฒนาคน ตั้งแต่เกิดจนเสียชีวิต ในทุกเพศทุกวัย การส่งเสริมการดูแลสุขภาพทั้งสุขภาพการและสุขภาพใจ และปัญญา ประชาชนและผู้ด้อยโอกาสทางสังคมได้รับสวัสดิการจากองค์การบริหารส่วนตำบลและภาครัฐอย่างทันท่วงทีและทั่วถึงเป็นธรรม ส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมของไทยและท้องถิ่นปลูกฝังจิตสำนึกความเป็นไทยให้กับคนรุ่นใหม่

      ในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและคมนาคม เพื่อความสะดวกต่อการเดินทางและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการขยายฐานการผลิต อาทิ ไฟฟ้า และประปา การพัฒนาเศรษฐกิจในระดับชุมชน ทบทวนบทบาทในการดูแลและช่วยเหลือกลุ่มผู้ผลิตในพื้นที่ ยกระดับกระบวนการผลิต ให้เป็นมาตรฐานเท่าเทียมสากล การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมทั้งต้องมีการควบคุมมาตรฐานการดูแลรักษาฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาคุณภาพชีวิต เตรียมรับมือผลกระทบจากปัญหาสังคมและปัญหาด้านสาธารณสุขที่อาจจะเกิดจากการเคลื่อนย้าย แรงงานและนักท่องเที่ยวโดยเสรี อาทิ โรคระบาด ความขัดแย้งทางสังคมและเชื้อชาติ การเฝ้าระวังปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด การค้ามนุษย์ จะต้องจัดสวัสดิการสังคมสำหรับเด็กกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มผู้ด้อยโอกาสอย่างมีคุณภาพและทั่วถึง การจัดการด้านการศึกษา เน้นการพัฒนามาตรฐานด้านการศึกษา ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและภาษาเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียน พัฒนาและสนับสนุนครูผู้สอนและนำเทคโนโลยีมาใช้ประกอบการเรียนการสอน

 

น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy )
       ประเทศไทยน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในภาคีการพัฒนากระจายไปทุกภาคส่วน การใช้หลักปรัชญานำทางในการขับเคลื่อนนโยบายของผู้บริหารและกระแสการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล

     เน้นการนำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายของครัวเรือน ขณะที่ เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน การพึ่งตนเอง พัฒนานวัตกรรมและคุณภาพชีวิตผ่านกระบวนการจัดทำแผนชุมชน สร้างแผนชุมชนที่มีคุณภาพเป็นชุมชนเข้มแข็ง ส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักและเข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สร้างกระแสการประชาสัมพันธ์ในสื่อรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจหลักความพอประมาณ การมีภูมิคุ้มกัน และเงื่อนไข มีความรู้ คู่คุณธรรม และความมีเหตุผลในการดำเนินชีวิต

     จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น และศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์ ตลอดจนความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ที่เกี่ยวข้อง ภาคประชาชน ส่วนราชการ/องค์กรภาครัฐ หน่วยงานเอกชน กลุ่มองค์กรต่างๆ จึงกำหนด จุดยืนทางยุทธศาสตร์ ( Positioning) ขององค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์ คือ “ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลที่ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืน” โดยให้สอดคล้องกับหัวใจของแผนเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 คือ “ มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”